ประวัติความเป็นมาของโรงเรียน

       โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยเป็นโรงเรียนที่กรมสามัญศึกษาจัดตั้งขึ้นเพื่อเฉลิม
พระเกียรติ เนื่องในวโรกาสที่สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ทรงเจริญพระชนมายุ ครบ 3 รอบในวันที่ 4 กรกฎาคม 2536 ด้วยสำนึกในพระกรุณาธิคุณที่ทรงมีต่องานด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม สนองตามพระราชประสงค์ที่ทรงมุ่งมั่นส่งเสริมคุณภาพชีวิตในด้านความเป็นอยู่และการศึกษาของประชาชน โดยเฉพาะในท้องถิ่นห่างไกลโดยให้โอกาส แก่เยาวชน ที่มีความสนใจ และมีความสามารถทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ได้ฝึกฝนความรู้ ความสามารถด้านนี้เป็นพิเศษตั้งแต่เยาว์วัยดังนั้นกรมสามัญศึกษาในฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบการจัดการศึกษาในระดับ
มัธยมศึกษา ได้ประกาศจัดตั้งโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี  จำนวน 12 โรงเรียนในทุกเขตการศึกษา โดยได้รับพระราชทานนามว่า “โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย” ต่อท้ายด้วยชื่อจังหวัดที่เป็นสถานที่ตั้งของโรงเรียน และใช้นามภาษาอังกฤษว่า “Princess Chulabhorn Science High School ” พร้อมทั้ง
พระราชทานแผ่นศิลาฤกษ์ โรงเรียนวิทยาศาตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ดำเนินการจัดพิธีวางศิลาฤกษ์พร้อมกันทั่วประเทศเมื่อวันพุธที่ 17 มกราคม 2539 สำหรับโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย สตูล ได้จัดตั้งตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ 20 พฤษภาคม 2537 ได้รับอนุญาตให้ใช้ที่ดินสาธารณประโยชน์บริเวณทุ่งเขาน้อย หมู่ที่ 12 ตำบลฉลุง อำเภอเมือง จังหวัดสตูล เป็นที่ตั้งโรงเรียนโดยเปิดรับนักเรียนประจำทั้ง ระดับชั้่นมัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย ตั้งแต่ปีการศึกษา 2537 โดยในระยะแรกที่อาคารเรียนและอาคารประกอบ ต่างๆ อยู่ในระหว่างการก่อสร้าง โรงเรียนได้ใช้วิทยาลัยเกษตรกรรมสตูล อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล เป็นสถานที่เรียนชั่วคราว จนถึงวันที่ 4 ธันวาคม 2538 จึงได้ย้ายมาเรียนในสถานที่ปัจจุบัน

  วัตถุประสงค์การจัดตั้ง

  1. เพื่อเฉลิมพระเกียรติในวโรกาสที่สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ทรงเจริญพระชนมายุครบ 3 รอบ
  2. เพื่อเป็นสถานศึกษาในระดับมัธยมศึกษาที่ฝึกทักษะความรู้ ความสามารถของนักเรียนด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมตั้งแต่เยาว์วัย ซึ่งเป็นการเตรียมบุคลากรไว้รองรับโครงการด้านวิทยาศาสตรฺ์ และเทคโนโลยีของประเทศ
  3. เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนที่เรียนดี มีความสามารถทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้มีโอกาสเพิ่มมากขึ้น ในการเข้าเรียนในระดับมัธยมศึกษา และได้พัฒนาความรู้พื้นฐานในด้านนี้อย่างเข้มข้นนำไปสู่การแก้ปัญหา และปรับปรุงสิ่งแวดล้อมให้ได้ผลอย่างแท้จริง
  4. เพื่อเป็นสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาตัวอย่าง ในด้านการฝึกอบรมนักเรียนให้เป็นกุลบุตรกุลสตรี ที่เพียบพร้อมด้วยคุณธรรมจริยธรรม สามารถพึ่งตนเองได้ และเป็นประโยชน์ต่อสังคม

โรงเรียนวิทยาศาตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย 12 โรงเรียนทั่วประเทศ

ที่ โรงเรียน สถานที่ตั้ง ปีที่จัดตั้ง
1 ร.ร.วิทยาศาตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย นครศรีธรรมราช ต.บางจาก อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช 2536
2 ร.ร.วิทยาศาตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ตรัง ต.บางรัก อ.เมือง จ.ตรัง 2536
3 ร.ร.วิทยาศาตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย เชียงราย ต.รอบเวียง อ.เมือง จ.เชียงราย 2536
4 ร.ร.วิทยาศาตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย บุรีรัมย์ ต.สตึก อ.สตึก จ.บุรีรัมย์ 2536
5 ร.ร.วิทยาศาตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย มุกดาหาร ต.บางทรายใหญ่ อ.เมือง จ.มุกดาหาร 2537
6 ร.ร.วิทยาศาตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย สตูล ต.ฉลุง อ.เมือง จ.สตูล 2537
7 ร.ร.วิทยาศาตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย เพชรบุรี ต.เขาใหญ่ อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี 2537
8 ร.ร.วิทยาศาตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย เลย ต.ธาตุ อ.เชียงคาน จ.เลย 2537
9 ร.ร.วิทยาศาตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ลพบุรี ต.ห้วยโป่ง อ.โคกสำโรง จ.ลพบุรี 2538
10 ร.ร.วิทยาศาตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย พิษณุโลก ต.มะขามสูง อ.เมือง จ.พิษณุโลก 2538
11 ร.ร.วิทยาศาตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ปทุมธานี ต.บ่อเงิน อ.ลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี 2538
12 ร.ร.วิทยาศาตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ชลบุรี ต.หนองซาก อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี 2539

รูปแบบการบริหารงาน

กรมสามัญศึกษา ได้ดำเนินการประกาศจัดตั้งโรงเรียนวิทยาศาตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยในทุกเขตการศึกษา ให้เป็นโรงเรียนที่มีความพร้อมสมบูรณ์ในการจัดการเรียนการสอนที่เน้นด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม รับนักเรียนสหศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย เป็นนักเรียนประเภทประจำและไป-กลับ ในเขตพื้นที่จังหวัดที่เป็นสถานที่ตั้งของโรงเรียน และจังหวัด ในแต่ละเขตการศึกษา ตามประกาศรับนักเรียน ของโรงเรียนวิทยาศาตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ซึ่งกรมสามัญศึกษา จัดดำเนินการประกาศรับนักเรียนในแต่ละปีการศึกษาประเภทโรงเรียนที่มีการรับสมัครนักเรียนโดยมี วัตถุประสงค์พิเศษ โดยกรมสามัญศึกษา ได้กำหนดให้มีแผนเต็มรูป เป็น 4-4-4, 6-6-6 รวม 30 ห้องเรียน มีนักเรียนห้องละ 36 คน ดังนั้นตามแผนเต็มรูป โรงเรียนวิทยาศาตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยทุกโรงเรียน จะมีนักเรียนทั้งสิ้นโรงเรียนละ 1,080 คน และได้จัดสรรงบประมาณให้ค่าก่อสร้างอาคารเรียนและอาคารประกอบ ตลอดจนวัสดุครุภัณฑ์ โรงเรียนละประมาณ 200.1687 ล้านบาท ดำเนินการประกาศจัดตั้งตั้งแต่ปี 2536-2539 โรงเรียนวิทยาศาตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยทั้ง 12 โรงมีการบริหารจัดการศึกษาโดยการประสานความร่วมมือและกำหนดแนวทาง การดำเนินงานร่วมกัน ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการก่อตั้ง ซึ่งกรมสามัญศึกษาได้อนุมัติหลักการให้ผู้บริหารโรงเรียน มีการประชุมร่วมกันทุกเดือน มีการจัดทำแผนงาน/โครงการ ส่งเสริมการพัฒนาโรงเรียนร่วมกัน ทำให้โรงเรียน มีพัฒนาเจริญก้าวหน้า เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
ความก้าวหน้าในการพัฒนาหลักสูตรและงานวิชาการ
ของโรงเรียนวิทยาศาตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย สตูล
  • พ.ศ. 2549 ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ ระหว่างโรงเรียนมหิดล วิทยานุสรณ์กับโรงเรียนวิทยาศาตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย 12 แห่ง
  • พ.ศ. 2551 ได้รับการคัดเลือกจาก สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้เป็นโรงเรียนยกระดับคุณภาพการศึกษาดีเด่นของ สพฐ. ( 36 โรงเรียน ทั่วประเทศ )
  • พ.ศ. 2551 ได้รับการคัดเลือกจาก สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)ให้เป็น ศูนย์อบรม GSP ของ สสวท.
  • พ.ศ. 2551 ผลการประเมินคุณภาพภายนอกสถานศึกษารอบสองจาก สมศ. อยู่ในระดับดีมากทุกมาตรฐาน
  • พ.ศ. 2552 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกาศให้โรงเรียนวิทยาศาตร์จุฬาภรณราช- วิทยาลัย เป็นโรงเรียนวิทยาศาสตร์ภูมิภาคของ สพฐ. ( 12 โรงเรียน ทั่วประเทศ )
  • พ.ศ. 2552 ได้รับการคัดเลือกจาก สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้เป็น โรงเรียนโครงการ Education Hub ของ สพฐ. ( 14 โรงเรียนทั่วประเทศ )
  • พ.ศ. 2553 คณะรัฐมนตรี มีมติเห็นชอบโครงการพัฒนาโรงเรียนวิทยาศาตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ให้เป็นโรงเรียนวิทยาศาสตร์ภูมิภาค (12 โรงเรียนทั่วประเทศ) เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2553
  • พ.ศ. 2553 ได้รับการคัดเลือกจาก สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้เป็น โรงเรียนมาตรฐานสากล ของ สพฐ. ( 500 โรงเรียนทั่วประเทศ )
  • พ.ศ. 2553 ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐานกับโรงเรียนวิทยาศาตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย สตูล ในการพัฒนาและ ยกระดับคุณภาพ โรงเรียนสู่มาตรฐานสากล ในปีงบประมาณ 2553 – 2555
  • พ.ศ. 2553 ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการระหว่างโรงเรียนวิทยาศาตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย สตูล กับ โรงเรียนวิทยาศาสตร์ ตวนกู ซัยด์ ปุตรา รัฐเปอร์ลิศ ประเทศมาเลเซีย
  • พ.ศ. 2554 ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางการศึกษาระหว่างมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และโรงเรียนวิทยาศาตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย สตูล
  • พ.ศ. 2555 ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการระหว่างโรงเรียนวิทยาศาตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย สตูล กับโรงเรียนวิทยาศาสตร์ FURUKAWA ประเทศญี่ปุ่น
  • พ.ศ. 2556 ผลการประเมินคุณภาพภายนอกสถานศึกษารอบสาม จาก สมศ. อยู่ในระดับดีมาก ทุกตัวบ่งชี้
  • พ.ศ. 2557 ลงนามบันทึกข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางการศึกษาระหว่างมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ และมหาวิทยาลัยทักษิณ กับโรงเรียนวิทยาศาตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย สตูล โรงเรียนวิทยาศาตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ตรัง และโรงเรียนวิทยาศาตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย นครศรีธรรมราช
  • พ.ศ. 2557 สถานศึกษารางวัลพระราชทาน ประจำปีการศึกษา 2556
  • ปีการศึกษา 2549–ปัจจุบัน ผลการสอบโอเน็ต ของนักเรียนชั้น ม.3 อยู่ในระดับ ดีเยี่ยม ของประเทศ ทุกปีการศึกษา
  • ปีการศึกษา 2549–ปัจจุบัน ผลการสอบโอเน็ต ของนักเรียนชั้น ม.6 อยู่ในระดับ ดีเยี่ยม ของประเทศ ทุกปีการศึกษา
  • ปีการศึกษา 2549–ปัจจุบัน ผลการสอบคัดเลือกเข้าศึกษาต่อใน สถาบันอุดมศึกษา ของนักเรียน ชั้น ม.6 ครบ 100 % ทุกปีการศึกษา

โครงการพัฒนาโรงเรียนวิทยาศาตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ให้เป็นโรงเรียนวิทยาศาสตร์ภูมิภาค

โดยอนุมัติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2553  ที่เสนอให้ดำเนินการพัฒนากลุ่มโรงเรียนวิทยาศาตร์ จุฬาภรณราชวิทยาลัยเป็น “โรงเรียนวิทยาศาสตร์ภูมิภาค” โดยมีรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับโครงการ ดังต่อไปนี
1.จำนวนห้องเรียนและจำนวนนักเรียนต่อห้องของโรงเรียนวิทยาศาสตร์ภูมิภาค
รายการ มัธยมศึกษาตอนต้น มัธยมศึกษาตอนปลาย รวม
ม.1 ม.2 ม.3 ม.4 ม.5 ม.6
จำนวนห้องเรียน (ห้อง) 4 4 4 6 6 6 30
จำนวนนักเรียนต่อห้อง (คน) 24 24 24 24 24 24
จำนวนนักเรียนทั้งหมด (คน) 96 96 96 144 144 144 720
2. จำนวนงบประมาณที่ได้รับการจัดสรร นักเรียนได้รับค่าใช้จ่ายสนับสนุนสำหรับนักเรียนประจำคนละ 84,000 บาทต่อปี
3. ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับครุภัณฑ์และสิ่งก่อสร้างที่จำเป็นสำหรับโรงเรียนวิทยาศาตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย สตูลดังนี้
3.1 ระบบโครงข่าย ICT ปีงบประมาณ 2555 จำนวนเงิน 5,000,000 บาท
3.2 ปรับปรุงหอพักนักเรียน ปีงบประมาณ 2555 จำนวนเงิน 6,000,000 บาท
3.3 ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ ปีงบประมาณ 2555-2556 จำนวนเงิน 10,800,000 บาท
3.4 อาคารหอสมุดและแหล่งการเรียนรู้ ปีงบประมาณ 2556 จำนวนเงิน 20,000,000 บาท
3.5 ก่อสร้างอาคารหอพัก 1 หลัง ปีงบประมาณ 2558-2559 จำนวนเงิน 30,000,000 บาท
3.6 งบประมาณปรับปรุงซ่อมแซม อาคาร สถานที่ และครุภัณฑ์ ปีงบประมาณ 2559-2561 จำนวนเงิน 18,000,000 บาท รวมงบประมาณที่โรงเรียนวิทยาศาตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย สตูล ได้รับปีงบประมาณ 2554-2561 ประมาณ 507,160,000 บาท